
มะเร็งเต้านมปัญหาที่ต้องใส่ใจ EP1
1. อายุเท่าไหร่ จึงควรจะเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม (Mammogram)
ในผู้หญิงที่ไม่มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมแนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทุกๆ 1 ปี ตั้งแต่อายุ 40 – 75 ปี สำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยงหรือมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมแนะนำให้เริ่มการตรวจคัดกรองเร็วขึ้น โดยอาจเริ่มตรวจที่อายุ 35 ปี!
2. ก้อนที่คลำพบที่เต้านมเกิดจากอะไร
3. อาการคันหัวนมเกิดจากสาเหตุอะไร
อาการคันหัวนมอาจเกิดจากการติดเชื้อ การแพ้หรือสาเหตุจากมะเร็ง ในกรณีที่หัวนมเปลี่ยนสี มีแผล และเลือดออกจากหัวนม ” ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์
4. การบีบเต้านมขณะที่เอกซเรย์เต้านม(Digital mammogram ) จะทำให้ก้อนที่มีอยู่ในเต้านมนั้น แตกหรือไม่
ไม่แตก เนื่องจากเครื่อง Digital mammogram ได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานโดยไม่ทำอันตรายต่อเต้านม ผู้รับบริการจึงสบายใจได้ว่าจะไม่มีผลกระทบต่อเต้านมครับ
5. ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง
– ประวัติคนในครอบครัวสายตรงและหรือสายรองที่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมและหรือมะเร็งรังไข่
– คนโสดหรือมีลูกช้า
– ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
– ผู้หญิงที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 -35 ปี ขึ้นไป
– ผุ้หญิงที่มีประจำเดือนเร็วกว่าปกติ [ อายุ < 10 ปี ] และหมดช้ากว่าปกติ [ อายุ > 50 ปี]
6. มะเร็งเต้านม รักษาให้หายขาดได้หรือไม่
หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรก ๆ และได้รับการรักษาตามมาตราฐาน จะมีการพยากรณ์โรคและให้ผลลัพธ์ได้ดีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยในระยะท้าย ๆ
7. มีประจำเดือน สามารถตรวจ Digital mammogram ได้หรือไม่
โดยมาก ในช่วงก่อนและระหว่างมีประจำเดือน ผู้หญิงจะรู้สึกคัดตึงเต้านมพอสมควร ซึ่งเป็นอิทธิพลจากฮอร์โมนเพศหญิง จึงอาจทำให้ค่อนข้างรู้สึกเจ็บ และไม่สุขสบายระหว่างการตรวจด้วย mammogram จึงอาจแนะนำให้ตรวจในช่วงหลังมีประจำเดือน แต่สำหรับในผู้ป่วยที่ไม่ได้มีอาการคัดตึงเต้านม ในช่วงก่อนและระหว่างมีประจำเดือนสามารถตรวจ mammogram ได้ตามปกติ
- ถ้าพบว่าเป็น มะเร็งเต้านมจะรักษาอย่างไร ?
การรักษามะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดคือ การรักษาแบบสหสาขา (Multidisciplinary treatments) อันได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง และการให้ยาต้านฮอร์โมน ซึ่งการเลือกลำดับวิธีการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายจะไม่เหมือนกัน ขึ้นกับปัจจัยทางด้านมะเร็งเต้านม (Tumor factors) และปัจจัยของผู้ป่วยเอง (Patient factors)
- มีอาการเจ็บเต้านมจะเป็นมะเร็งหรือไม่ ?
อาการเจ็บหรือไม่เจ็บนั้น ไม่ได้เจาะจงว่าจะสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม เพียงแต่เมื่อมีอาการเจ็บจะเป็นปัจจัยที่มีส่วนอย่างมากให้ผู้ป่วยมารับการตรวจคัดกรอง และรับการวินิจฉัยได้อย่างเร็วกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีอาการดังกล่าว